เลี้ยงหนู อาชีพใหม่ เสริมรายใด้ ฝ่าวิกฤตโควิด

ข่าวเกษตร
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19) หลายพื้นที่ในจังหวัดตากยังคงพบผู้ติดเชื้อ โควิด 19 อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การทำมาหากิน ไม่ปกติ เดือดร้อนกันถ้วนหน้า
ในพื้นที่อำเภอพบพระก็เช่นเดียวกัน ที่ผ่านมา บ้างพื้นที่ บางหมู่บ้านพบผู้ป่วย ติดเชื้อโควิค 19 ทำให้ต้องเฝ้าระวัง ตามมาตรการคำสั่งจังหวัดตาก การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 หลายๆหมู่บ้าน ยังตั้งจุดสกัดคัดกรองคนเข้าออกภายในหมู่บ้าน อย่างเข้มข้น ทำให้ ได้ผล
ดีในการหยุดการแพร่ระบาด
ของเชื้อไวรัส covid-19 ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงหนูนาของ เกษตรกรบ้านพบพระเหนือ
ต.พบพระ อ.พบพระ จ.ตาก
ที่ใช้เวลาว่าง ในช่วง วิกฤตโควิด อยู่แต่บ้าน ไม่ได้ออกไปไหน โดยการสั่งซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ หนูนาพันธุ์ใหญ่จากชาวบ้านที่จับมาได้ตามธรรมชาติ และตามฟาร์มเลี้ยงหนูนาในพื้นที่ต่างๆ มาเพาะเลี้ยงดู ปรากฏว่าสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีหนูนาที่เพาะเลี้ยงอยู่กว่า 1,000 ตัว มีออเดอร์สั่งเข้ามาจากพื้นที่ใกล้เคียง เพาะพันธุ์ได้เท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ
ภาณุวัฒน์ ประจวบดี (ต้น) อายุ 38ปี 44/1 ม.1บ้านพบพระเหนือ ต.พบพระ อ.พบพระ จ.ตาก
กล่าวว่า
ด้วยสถานการณ์ covid-19 ระบาดหนัก ไม่ใด้ออกไปไหนจำเป็นต้องหาอาชีพเสริม
เพื่อสร้างรายได้ เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว จึงตัดสินใจซื้อหนูนามาเลี้ยง ด้วยเหตุผลตนเองชอบรับประทานหนูนา ที่ผ่านมาเคยเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นเช่นไก่และหมู
พื้นที่บ้านที่ตัวเองอยู่นั้นอยู่ในเขตชุมชน การเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่จึงส่งกลิ่นเหม็นรบกวนเพื่อนบ้านตนเองจึงตัดสินใจเลิกเลี้ยงและหันมาเลี้ยงหนูนา
ซึ่ง วัสดุหรืออาหารที่ใช้เลี้ยงหนูมีอยู่ในพื้นที่ อำเภอพบพระอยู่แล้วคือข้าวโพด
เริ่มเลี้ยงครั้งแรกใช้แม่พันธุ์จำนวน 20 ตัว
ขั้นตอนในการเตรียมสถานที่
เลี้ยงในวงบ่อขนาด80″
2บ่อฝาปิดเทพื้นปูน(ทำเอง)
โดยระบบน้ำอัตโนมัติ(จุกน้ำหมูเล็ก)หรือใส่ภาชนะทำเองเพื่อลดต้นทุน
ต้นทุนประมาณ400-500บาทต่อบ่อเลี้ยง1ชุด(ไม่รวมพ่อแม่พันธุ์)
และวงบ่อ1ชุด เลี้ยงหนูขุนได้10-15ตัว
ส่วนวงบ่อ1ชุด เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ได้1ชุด(3ตัว) ตัวผู้1ตัว และตัวเมีย2ตัว
ภาณุวัฒน์ ประจวบดี (ต้น)
กล่าวต่ออีกว่า
พ่อแม่พันธุ์ อายุ6เดือนขึ้นไป จะเหมาะสมที่สุด
พ่อพันธุ์ควรมีอายุมากกว่าแม่พันธุ์ประมาณ1เดือน
ส่วนค่าเฉลี่ยการให้ลูก 6-10ตัว(อยู่ที่เทคนิคการเลี้ยง)
อายุการตั้งครรภ์ 25-30วัน ให้ลูกปีละประมาณ7-8ครั้ง
ในการแยกลูก ควรแยกลูกออกจากแม่พันธุ์อายุตั้งแต่25-30วัน เพื่อทำเป็นหนูขุนต่อไป
อาหารที่ใช้ ในการเลี้ยงหนู
อาหารพื้นถิ่น เช่น ข้าวเปลือก,ข้าวโพด,หญ้าหวาน,เสริมด้วยอาหารหมู 18เปอร์เซนต์
สลับกันในแต่ละวัน.
ใช้เวลา6เดือนในการเลี้ยง หนูนาหนึ่งตัวใด้น้ำหนัก1กิโลกว่า
การขายหนูนา
ราคาพ่อแม่พันธุ์ ชุดละ700บาท(ตัวผู้1ตัว/ตัวเมีย2)
ราคาหนูเนื้อ1ก.ก.ละ220บ.(ทำแล้ว)
ปัจจุบัน เลี้ยงหนูนา ในวงบ่อ ซีเมนต์ จำนวน 100 บ่อ(วงบ่อ)
จำนวนพันกว่าตัว
ขายหนูนาที่ทำแล้วได้วันละ5-10กิโล ขายกิโลกรัมละ220บาท
หลังจากนี้ตนเองจะขยาย พื้นที่ในการเลี้ยงเพิ่มขึ้นอีก
ท่านใดสนใจซื้อหนูนาใด้ที่
ภาณุวัฒน์ ประจวบดี (ต้น) อายุ 38ปี 44/1 ม.1 ต.พบพระ อ.พบพระ จ.ตาก 63160 โทร061-6031801
วิกฤตโควิดครั้งนี้
ทำให้ประชาชนไม่ใด้ออกไปไหนทำให้ใช้เวลาว่างเลี้ยงหนู เป็นอาชีพเสริม เป็นการสร้างโอกาส ให้กับเกษตรกร
การเลี้ยงหนูนา จึง เป็นอาชีพใหม่ของคนในพื้นที่อำเภอพบพระ
หลังจากทดลองเลี้ยง แล้วได้ผล เป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
โดยคนในพื้นที่ สั่งซื้อ จนผลิต ไม่ทัน และความต้องการ พ่อพันแม่พันธุ์ ของเกษตร ในพื้นที่ยัง มีเพิ่มขึ้น
หนูนาสามารถทำอาหารใด้หลายอย่างเช่นผัดเผ็ดหนูนา หนูนาย่าง
เป็นอาหาร ยอดฮิต ยอดนิยม ของคนในพื้นที่อำเภอพบพระจังหวัดตาก
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *