ตาก.ทช.สร้างทางเข้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ เชื่อม ตาก – เชียงใหม่ กว่า 74 กม.

ไม่มีหมวดหมู่
นายธงไชย ชมถนอม ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทตาก แจ้งว่า กรมทางหลวงชนบท(ทช.) กรมทสงหลวงชนบท ได้ดำเนินการ ก่อสร้างทางเข้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก เขื่อมต่อ จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง กว่า 74 กิโลเมตร โดยได้ดำเนินการสร้างเสร็จสมบูรณ์ เ พื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนชาวไทยภูเขาอย่างยั่งยืนส่งเสริมการคมนาคมในพื้นที่ให้สัญจรได้อย่างปลอดภัยในทุกฤดูกาล ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดขอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
โดยกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางเข้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก, อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง 74.014 กิโลเมตร อย่างเสร็จสมบูรณ์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากที่ผ่านมาการเดินทางของประชาชนในพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถนนมีลักษณะเป็นดินโคลนทำให้การคมนาคมเกิดความล่าช้าโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางระหว่างอำเภอมากถึง 3 – 5 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยก่อสร้างเป็นถนนผิวจราจรแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 4 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ และการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

  • ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นบ้านป่าไร่ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105
    (แม่สอด – แม่สะเรียง) (กม.ที่ 36+900) สิ้นสุดโครงการที่บ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ระยะทาง 44.584 กิโลเมตร เส้นทางนี้อยู่ห่างจากอำเภอแม่ระมาดประมาณ 40 กิโลเมตร จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง จะเหลือเพียง 2 ชั่วโมง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 246.664 ล้านบาท
  • ตอนที่ 2 จุดเริ่มต้น กม.ที่ 44+602 ที่บ้านเลอตอ หมู่ที่ 13 บ้านแม่ตื่นน้อย ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ สิ้นสุดโครงการ กม.ที่ 74+032 เชื่อมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1099 (กม.ที่ 75+000)
    ที่บ้านใหม่ ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 29.430 กิโลเมตร เส้นทางนี้เข้าจากตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเดินทางกว่า 3 ชั่วโมง จะเหลือเพียง 1.30 ชั่วโมง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 244.490 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงเส้นทางตามมาตรฐานถนนหลวงภูเขา ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ และจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการตัดต้นไม้ใหญ่ริมทางเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติไว้ให้มากที่สุด เพื่อทัศนียภาพและระบบนิเวศป่าไม้ที่สมบูรณ์สืบไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *