เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2565
เวลา21.00น.
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานพิธีเปิดงานประเพณีลอย
กระทงสายไหลประทีป 1000ดวง
นายสวนิต สุริยกุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
กล่าวต้อนรับ
นายณพล ชยานนท์ภักดี นายกเทศมนตรีเมืองตาก
กล่าวรายงานวัตถุประสงค์
งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000ดวง เป็นมรดก
ทางภูมิปัญญาของชาวเมืองตาก ที่ได้รับการปฏิบัติสืบทอดกันมาหลาย
ชั่วอายุคน จากจุดเล็กๆ ของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ
ผสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จนกลายเป็นประเพณีอันสมควรแก่การอนุรักษ์
ไว้ให้คงอยู่สืบไป
ทางด้าน
นางสาวธมวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตาก กล่าวเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวว่า งานลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ช้านานตั้งแต่บรรพบุรุษเพื่อเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำปิง บวกกับธรรมชาติของสายน้ำเกิดล่องน้ำเป็นสายยาว เมื่อนำกระทงลงลอยลงแม่น้ำปิงกระทงลอยต่อเนื่องกันเป็นสายตามธรรมชาติเห็นแสงไฟระยิบระยับติดต่อกันเป็นภาพที่งดงามยิ่งนักซึ่งภาพที่งดงามนี้จะเกิดขึ้นที่จังหวัดตากที่เดียวและเฉพาะช่วงเทศกาลลอยกระทงเท่านั้น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้บรรจุงานประเพณีลอยกระทงสายฯ นี้ไว้ใน “สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง” ในพื้นที่เอกลักษณ์ 5พื้นที่ ได้แก่ เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก พระนครศรีอยุธยา และสมุทรสงคราม เพื่อประชาสัมพันธ์ในระดับประเทศต่อไป นอกจากนี้ เทศบาลเมืองตาก ได้ส่งผลงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000ดวง จนได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่น ประเภทองค์กรภาครัฐ ถึง ,3ครั้งด้วยกัน ได้แก่ ปี 2554 2556 และ 2558ซึ่งเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติและเป็นที่ประจักษ์แก่สายตานักท่องเที่ยวทุกคน จึงขอเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางมายังจังหวัดตากเพื่อชมความงดงามของประเพณีลอยกระทงสายฯ ด้วยตาของตนเอง….
นับใด้ว่า
งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000ดวง ประจำปี 2565
วันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2565 ณ ริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี อำเภอเมือง จังหวัดตาก
มีรูปแบบโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และเป็นมรดกสืบทอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดตาก การแข่งขันลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง จะแตกต่างจากจังหวัดอื่น นั่นคือ ในคืนวันแรกของการจัดงานจะมีขบวนแห่กระทงของชาวบ้านซึ่งแต่งกายอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ประกอบด้วย กระทงขนาดใหญ่ เรียกว่า กระทงนำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ประดิษฐ์ด้วยความปราณีตจากใบตองสด พร้อมด้วยกระทงกะลาที่ตกแต่งลวดลายต่างๆ และปิดท้ายด้วยกระทงตามเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร ทุกอย่างล้วนประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติอย่างวิจิตรงดงาม แสดงถึงความพร้อมในการแข่งขันในวันถัดไป…
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน