อ.แม่สอด .เวทีพบปะชุมชนระดับพื้นที่ โครงการรถไฟทางคู่ สายนครสวรรค์
กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด ณ วัดเวฬุวัน
ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ข่าวภูมิภาค
เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2565 ดร. พิเศษ เสนาวงษ์ พร้อมทีมวิศวกร และทีม
ศึกษา เป็นคณะผู้แทนงานศึกษา สำรวจ
ออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อ
เตรียมการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร
แม่สอด ได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะชี้แจงข้อมูลผลการศึกษาโครงการ รวมถึง
ให้ข้อมูลการตรวจสอบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามแนวเส้นทาง รวมทั้ง
ข้อมูลหลักเกณฑ์และวิธีการเวนคืน ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ได้รับผลกระทบ
กับชาวแม่ปะและแม่กาษา กว่า 180 คน ณ วัดเวฬุวัน ตำบลแม่ปะ ทั้งนี้
เนื่องจากที่ผ่านมา ในช่วงการศึกษาเป็นช่วงสถานการณ์ COVID-19
ทำให้เป็นข้อจำกัดในการให้ข้อมูลต่อประชาชน ทางโครงการและการ
รถไฟฯ จึงได้จัดกิจกรรมลงพื้นที่เพิ่มเติมขึ้น เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบ
ได้รับข้อมูลให้ทั่วถึงมากที่สุด ในช่วงที่อยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบ
รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ElA) โดยได้รับความร่วมมือประสาน
อย่างดีจาก อบต.แม่ปะ และผู้นำชุมชนในพื้นที่ หลังการประชุมชี้แจงกับ
ประชาชน ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจและโดยภาพรวมจะเห็นว่าโครงการ
มีความสำคัญ และจะก่อให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่มาถึงแม่สอดได้มาก
และจากการชี้แจงมีความเข้าใจกับมาตรการในการแก้ไขและลดผลกระ
ทบจากโครงการ
หลังการประชุมประชาชน คณะผู้นำชุมชนและจิตอาสาในการอนุรักษ์
ต้นน้ำแม่ปะ ประกอบด้วย ปลัดอำเภอ นางธนชพร ต๊ะทองคำ นายก
อบต.แม่ปะ กำนันตำบลแม่ปะ ผู้ใหญ่บ้านพร้อมด้วยแกนนำภาค
ประชาชนและจิตอาสาได้ขอหารือกับคณะผู้ศึกษาของโครงการ ภายใต้
การประสานงานของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นายสมชัย กิจเจริญ
รุ่งโรจน์ ในประเด็นที่มีประชาชนในพื้นที่เสนอให้เลี่ยงการขุดเจาะอุโม
งก์ดอยพะวอออกไปยังจุดอื่นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย
เฉพาะตาน้ำขนาดใหญ่ที่หล่อลี้ยงชาวแม่ปะ ตลอดจนมีข้อเสนอในการ
ชะลอโครงการออกไปก่อน เพื่อศึกษาในการปรับแนวอุโมงก์ ซึ่งทาง
คณะผู้ศึกษาได้นำเสนอรูปแบบของอุโมงก์และแนวการขุดเจาะ ซึ่งได้
ทำการสำรวจทั้งทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ และการเจาะสำรวจตาม
แนวอุโมงก์ เพื่อยืนยันแนวเส้นทางว่าไม่มีผลกระทบในประเด็นดังกล่าว
อีกทั้ง แนวอุโมงค์ก็นี้จะมีผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้ ต้นน้ำ และประชาชน
น้อยที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงสั้นที่สุดที่มีความเป็นไปได้ และในแนวพื้นที่
มายังแม่สอด เต็มไปด้วยพื้นที่ปาไม้ การใช้อุโมงก์จะกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อมน้อยที่สุด ในส่วนของตาน้ำในพื้นที่ เกิดจากพื้นที่รับน้ำขนาด
ใหญ่ของผืนป่า น้ำจะไหลซึมลงมาด้านล่าง ขณะที่ตาน้ำที่อยู่ทางใต้ ก็
จะไหลผ่านตามแนวเดิม เมื่อมาถึงบริเวณอุโมงก์ซึ่งเป็นระบบปิด เหมือน
ท่อน้ำที่เข้าไปแทนในเนื้อดิน น้ำที่เคยไหลอยู่ ย่อมมีทางไหลไปยังที่ต่ำ
กว่าตามธรรมชาติ และแนวอุโมงก์ก็อยู่ในชั้นหินแข็งบนภูเขา ไม่มีโพรง
น้ำบาดาลแต่อย่างใด ซึ่งยินดีรับข้อมูลจากทางกลุ่มพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อจะ
ได้นำเสนอผู้เชี่ยวชาญพิจารณาประกอบ เพราะอุโมงก์และโครงการมี
มูลค่าสูงและมีความสำคัญกับอำเภอแม่สอด จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน
เพื่อตอบประชาชนได้ ทั้งนี้ ดร.พิเศษ เสนาวงษ์ ได้ให้ข้อมูลว่า แนว
โครงการจะแบ่งการนำเสนอพิจารณาเป็นสองช่วง คือ ช่วงนครสวรรค์
ถึงตาก และช่วงตากถึงแม่สอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และ
ประเด็นการพิจารณา ซึ่งหากช่วงใดผ่านการพิจารณาก่อนก็จะดำเนิน
การต่อได้ก่อน จะทำให้โครงการพัฒนาได้ ส่วนในกรณีที่ทางกลุ่มได้มี
หนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหน่วยงานเพื่อให้ชะลอโครงการ
ทำการศึกษา หรือเปลี่ยนแนว ย่อมเป็นสิทธิที่ทางกลุ่มพื้นที่จะดำเนิน
การได้ และการชะลอโครงการย่อมเป็นสิทธิของประชาชนในแม่สอด
และคาดว่าจะไม่กระทบต่อการดำเนินการในช่วงของนครสวรรค์ถึง
ตาก ที่จากการลงพื้นที่ ผู้นำชุมชนและประชาชนตลอดแนวเส้นทางให้
ความร่วมมือเป็นอย่างดี และอาจจะสามารถดำเนินโครงการในช่วง
นครสวรรค์ถึงตากได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *