นายอำเภออุ้มผาง ขวัญใจภูธร ชวนเทึ่ยว โบสถ์ไม้สักทอง วัดหนองหลวง เส้นทางสายมูเตลูและชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี
“ของดีเมืองอุ้มผาง”

ข่าวท่องเที่ยว
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
เตรียมเข้าสู่ ปลายฝนต้นหนาว
โบสถ์ไม้สักทอง วัดหนองหลวง หนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยว อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชม ความงามของโบสถ์มาสัก

นายธันย์ปวัฒน์ ภูริวัฒนเมธา นายอำเภออุ้มผาง
รวบรวมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศรัทธา
เส้นทางสายมูเตลู
เที่ยวอุ้มผาง เที่ยวได้ 365 วัน เที่ยว 360 องศา เที่ยวได้ทุกพื้นที่ในอำเภออุ้มผาง เที่ยวได้ทั้งปี
เตรียมหนุน แหล่งท่องเที่ยวสายบุญ เป้าหมาย หวังดึงนักท่องเที่ยว มาเที่ยวอุ้มผาง ให้มากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ท่องเที่ยวเชิงศรัทธา
เส้นทางสายมูเตลู
“เสริมพลังบุญ หนุนพลังใจ” จะสามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเจเนอเรชันอย่างแน่นอน เพราะคนเรามีจุดประสงค์ที่ต้องการ และอยากหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแตกต่างกันอยู่แล้ว เช่น การเงิน การงาน การเรียน หรือแม้แต่ความรัก ความศรัทธา

จุดประสงค์เหล่านี้เป็นสิ่งที่คนในทุกเจเนอเรชันต้องการตามหา เป็นจุดเริ่มต้นของการนำมาซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวแนวศรัทธา ความเชื่อ
ท่องเที่ยวนี้น่าสนใจ และเข้าถึงกลุ่มผู้สูงวัยได้ดียิ่งขึ้น เพราะเรามองถึงความสำคัญของคนกลุ่มเหล่านี้ ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวหัวใจสำคัญของเส้นทาง “เสริมพลังบุญ หนุนพลังใจ”

โดย อำเภออุ้มผาง ร่วมกับ พัฒนาชุมชนอุ้มผางดำเนินโครงการพัฒนาเส้นทางชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและกิจกรรมผ่านอัตลักษณ์ของชุมชน
นางสาวจันทิวา ศรีเอี่ยม นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภออุ้มผาง และนางสาวชมนณัฐ ดนุพงศ์อมร นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
เพื่อวางแผนและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีให้มีความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว ในเทศกาลท่องเที่ยว
ทางด้านนางสาวจันทิวา ศรีเอี่ยม นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภออุ้มผาง กล่าวว่า วันนี้ นายอำเภออุ้มผาง พัฒนาชุมชนอำเภออุ้มผาง
นายเสถียร ต๋าขัด ผู้ใหญ่บ้านหนองหลวง
ผู้นำชุมชนบ้านหนองหลวง
ลงพื้นที่บ้านหนองหลวง หมู่ที่ 1 ตำบล หนองหลวง เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาเส้นทางชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและกิจกรรมผ่านอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อวางแผนและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีให้มีความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว ในเทศกาลท่องเที่ยวใน 6 ประเด็น ดังนี้ 1.พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว 2.ปรับปรุงภูมิทัศน์ 3.พัฒนาสำรับอาหาร 4.กิจกรรมการท่องเที่ยว 5.การประชาสัมพันธ์ชุมชน และ 6.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีผู้แทนจากบริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว
ณ.บ้านหนองหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง

พระครูอาทรกิจวิธาน (สุทัศน์ สมฺจิตโต) เจ้าอาวาสวัดหนองหลวง
เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า
โบสถ์ไม้สักทองวัดหนองหลวง
สร้างด้วยความศรัทธาของชาวบ้าน ซึ่งไม้สักได้รับการบริจาคไม้ของชาวบ้าน วัสดุโดยความศรัทธา จากแรงศัทธา ตรวจหลังนี้อุโบสถหลังนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ 2538 แล้วเสร็จ เมื่อปีพ.ศ 2547
จะใช้เวลาประมาณ8-9ปี

ชาวบ้านและชุมชน และชมรมการท่องเที่ยว แนวคิด เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาและนักท่องเที่ยวได้เข้าชม กราบไหว้ พระพุทธที่อยู่ในโบสถ์นี้ และ นักท่องเที่ยว สามารถถ่ายรูป กับโบสถ์ไม้สักทองแห่งนี้ เป็นที่ระลึก อึกด้วย

เส้นทางการท่องเที่ยว บ้านหนองหลวง หมู่ที่ 1 ตำหบลหนองหลวง อำเภออุ้มผาง
จังหวัดตาก อยู่ห่างจากตัวอำเภออุ้มผาง 15 กม. ใช้เวลาเดินทางเพียง
15 นาที บ้านหนองหลวง ตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขา รายล้อมไปด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีอากาศเย็นสบายตลอดปี มีแหล่ง
ท่องเที่ยวสวยงามที่รอคอยให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพักผ่อน ได้สัมผัส
กลิ่นไอวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่สงบ เรียบง่ายด้วยประเพณีพื้น
บ้านที่สืบทอดกันมายาวนาน มีอุโบสถไม้สักทอง ที่เป็นอัตลักษณ์
ประจำหมู่บ้าน มีอาหารพื้นถิ่นให้ลิ้มรสมากมาย และสามารถเลือก
ชม ชิม ช้อปผลิตภัณฑ์ OTOP และสินค้าชุมชนที่หลากหลายเป็นของ
ฝากกลับบ้านได้อีกด้วย

แนวคิด และความมุ่งมั่น ตั้งใจ ของ
นายอำเภออุ้มผาง
ที่รวบรวมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศรัทธา
เส้นทางสายมูเตลู
เป้าหมาย หวังดึงนักท่องเที่ยว มาเที่ยวอุ้มผาง ให้มากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับชุมชน
เที่ยวอุ้มผาง เที่ยวได้ 365 วัน เที่ยว 360 องศา เที่ยวได้ทุกพื้นที่ในอำเภออุ้มผาง เที่ยวได้ทั้งปี
โบสถ์ไม้สักทอง
อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว สายหมูเตลู ท่องเที่ยว
อยู่ไม่ไกล จากตัวอำเภออุ้มผาง เส้นทาง เดียวกับ ที่นักท่องเที่ยวเดิจทางไป ถ้ำตะโค๊ะบิ เที่ยวน้ำตกทีลอซู
ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอจอมป่า บ้านกล้อทอ เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม พื้นบ้านชาวเหรี่ยง
น้ำตกรูปหัวใจ เที่ยว สวนทุเรียนพื้นบ้านเปิ่งเคิ่ง สวนหมาก สุดเขตประเทศไทย ที่บ้านเปิ่งเคิ่ง
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *