โดยได้มีการ นำเสนอแนวทางและแสดงความคิดเห็น ใน เรื่อง “พิจารณาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำภออุ้มผางของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
และติดตามความคืบหน้าการให้บริการของการไฟฟ้ส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ชายแดนและชุมชนชาวเขา
(ปกาเกอะญอ) ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ จังหวัดตาก” ทั้งนึ้เพื่อพิจารณาแนวทาง
การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์แพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID – 19. ในเขตพื้นที่ อ.อุ้มผาง รวมทั้งการติดตามผลความคืบหน้าของการขยายเขตไฟฟ้ในเขตพื้นที่ อ.แม่ระมาด และ อ.ทำสองยาง จ.ตาก
ในส่วนขงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
รายงานสรุปย่อการนำเสนอผลการดำเนินงานของ การท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) สำนักงานตาก ในหัวข้อการส่งเสริมการท่องเท่ียวในพื้นท่ีอำเภออุ้มผางในมิติด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเท่ียว โดย นางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ตำแหน่งผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก
- ข้อมูลท่ัวไปของอําเภออุ้มผาง
อำเภออุ้มผางเป็นอำเภอหนึ่งทางตอนใต้ของจังหวัดตาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีป่าไม้หนาแน่น เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่กลอง เทือกเขาถนนธงชัย กั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับ สาธารณรัฐแห่สหภาพเมียนม่ามีพื้นท่ี เป็นภูเขาร้อยละ 97 มีพื้นที่ราบตามหบุเขาและลุ่มน้ำเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น เขตเทศบาลตำบลอุ้มผางพื้นที่ลาดเนินลงมาตามลำห้วยนา บ้านเรือนราษฎรปลูกกระจัดกระจายตามท่ีลาดเนิน ส่วนใหญ่บ้านเรือนจะ ปลูกเป็นแนวยาวตามลำห้วยนาส่วนหนึ่ง บริเวณเขตเทศบาลตำบลอุ้มผาง มีลำห้วย 3 สาย คือ
ลำห้วยนา ลำห้วยไร่ ลำห้วอุ้มผาง มีทุ่งนาอยู่ประมาณ 200 ไร่ อำเภออุ้มผางสูงจากระดับน้ำทะเล
ประมาณ 300-600 เมตร
การคมนาคม
อำเภออุ้มผางเป็นอำเภอหนึ่งทางตอนใต้ของจังหวัดตาก หนึ่งใน 9 อำเภอ อำเภออุ้มผางเป็น อำเภอท่ีมีพื้นท่ีกว้างที่สุดในประเทศไทยและมีพรมแดนติดต่อกับ ประเทศสหภาพเมียนมา ที่มีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร พื้นท่ีส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีป่าไม้หนาแน่น พื้นท่ีท่ีเป็นภูเขารเอยละ 97 มีพื้นท่ีราบตามหุบ เขาและลุ่มน้ำเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น การคมนาคมขนส่งต้องผ่านภูเขาและหุบเขา โค้ง 1,219 โค้ง (ห่างจากอำเภอแม่สอด 165 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากอำเภอแม่สอดโดยรถส่วนตัวประมาณ 3 ชั่วโมง รถโดยสารสองแถวประจำทาง 4-5 ชั่วโมง
จํานวนประชากร
จำนวนประชากรทั้งหมด 1,733 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 868 คน คิดเป็นร้อยละ 50.09 หญิง จำนวน 865 คนคดิเป็นร้อยละ 49.91 จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 595 ครัวเรือนความหนาแน่นเฉลี่ย 991.67 คน/ตารางก็โลเมตร ประกอบไปด้วยกล่มุ ชนท่ีหลากหลาย ชาติพันธุ์ ทั้ง ชาวไทยท่ีมาจากภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่มาทำธุรกิจท่องเที่ยว และค้าขาย ชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ทั้ง ม้ง ปกากะญอ กะเหรี่ยง เย้า มูเชอ ลีซอ อาข่า และจีนฮ่อ โดยมีวิถีชีวิตท่ีเรียบง่าย ใน ท่ามกลางความอุดมสมบรูณไ์ปด้วยแมกไม้นานาชนิด
- ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเท่ียวท่ีสำคัญ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (น้ำตกทีลอซู ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) ดอยหัวหมด น้ำตกทีลอเล น้ำตกทีลอจ่อ น้ำตกปิตุโกร หรือเปรโต๊ะลอซู เขตรักษาพนัธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเท่ียว มีห้องพัก 250 ห้องรองรับนักท่องเที่ยวได้ 1,000 คน มีร้านอาหาร 14 แห่ง รองรับคณะได้ 50 คนขึ้นไป การคมนาคมขนส่งในพื้นที่อุ้มผาง มีรถ รับจ้างท้องถิ่น รถตู้ การให้บริการอื่น ๆ ในพื้นท่ี มีบริษัทนำเท่ียว ที่ผ่านมาตรฐาน SHA Amazing Thailand Safety & Health Administration จานวน 22 ราย
- กิจกรรม/โครงการส่งเสริมการท่องเท่ียวอย่างรับผิดชอบ ของ ททท.สำนักงานตาก โครงการ
ที่ผ่านมา Goodwill Chillout @ TAK
• กิจกรรมเท่ียวตากพกยามาด้วยนะ โครงการตากเท่ียวได้ให้ด้วย
• กิจกรรม Travel good Big green
• กิจกรรมพิธีลงนาม“ปฏิญญาอมุ้ผาง”
โครงการ Goodwill Chill out @TAK
• ปีดำเนินการ 2563 กระตุ้นการเดินทางท่องเท่ียวในพื้นที่และสอดแทรกกิจกรรม“การท่องเท่ียว
อย่างรับผิดชอบ
(Responsible Tourism)” ในมิติของการสนับสนุนด้านสังคม เพื่อให้การท่องเที่ยว เป็นเครื่องมีในการช่วยสังคม เพื่อให้การทอ่งเท่ียวเป็นเครื่องงมือในการ แกป้ญญหาใหกับชมุชน
โครงการ ตากเที่ยวได้ ให้ด้วย
• ปีดำเนินการ 2564–ปัจจุบัน
กระตุ้นการเดินทางท่องเท่ียวในพื้นท่ีและสอดแทรกกิจกรรม “การท่องเท่ียวอย่างรับผิดชอบ
(Responsible Tourism)” ให้ครอบคลุมหลากหลายมิติมากขึ้น ทั้งด้าน สังคม วัฒนธรรม และ ส่ิงแวดล้อม ผ่าน “ปฏิญญาอุ้มผาง”
กิจกรรม Travel good Big green ผ่านกิจกรรมย่อยท่ีตอบโจทย์มิติอื่น ๆ
-กิจกรรมเพาะต้นกล้าคืนชีวิตให้ลำน้ำแม่กลอง ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ น้ำตกทีลอซู
-กิจกรรมส่งรักให้น้อง
-กิจกรรมยาเหลือใช้ต่อลมหายใจชีวิต”
-กิจกรรม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ” การท่องเท่ียวอย่างรับผิดชอบ “ปฏิญญาอุ้มผาง”
“ปฏิญญาอุ้มผาง” 5 ข้อ เพื่อรักษาสังคม ส่ิงแวดล้อม ให้คงอย่คู่กับกับเราอย่างยั่งยืน ต่อไป
• ภาคีเครือข่าย ขอปรับพฤติกรรม การผลิต บริโภค และการบริการทางการท่องเท่ียว ท่ีเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม และยึดหลัก “ปรัชญญาเศรษฐกิจพอเพียง”
•ภาคีเครือข่ายจะร่วมเพิ่มพื้นท่ีสีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างสมดุล ให้กับธรรมชาติ
•ภาคีเครือข่าย ใช้ทรัพยากรท่ีมีอยู่อย่างคุ้มค่า จัดการขยะตามหลัก 3 Rs มุ่งสู่สังคมปลอดภัย
• (Reduce-การลดการใช้Reuse-การนำกลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle การนำขยะกลับมาใช้ใหม่)
• ภาคีเครือข่ายจะร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อลดความเหลือมล้ำทางสังคม สนับสนุนเศรษฐกิจ
ชมุชน แรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และสวัสดิการสาธารณสุข ให้กับชุมชนในพื้นที่อำเภออุ้มผาง
-ภาคีเครือข่ายจะร่วมลดการปล่อยมลพิษ และใช้น้ำอย่างมีคุณค่า ตลอดจน ร่วมอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว
- ผลกํารดําเนินกิจกรรม/โครงการ
- ด้านสังคม
• ประชากรมีรายได้จากการท่องเท่ียว ลดความเหลื่อมล้ำด้านสังคม ลดการเดินทางออกนอกภูมิลำเนา ช่วยให้ปัญหาครอบครัวลดลง
•กิจกรรมอุ้มน้อง หรือพ่อแม่อุปถัมภ์ ช่วยให้นักเรียนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษามากขึ้น - ด้านวัฒนธรรม
- ด้านสิ่งแวดล้อม
-ปฏิญญาอุ้มผางก้าวแรกแห่งการร่วมมือกันพัฒนาการท่องเท่ียวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
-โรงเพาะชำ ท่ีเป็นศูนย์รวมให้นักท่องเท่ียวได้ร่วมเพาะต้นกล้าไม้ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์
- โอกาส แนวทาง และทิศทางดำเนินการด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนาคต
- ส่งเสริม ผลักดัน “ปฏิญญาอุ้มผาง”ในแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่าย
- การท่องเท่ียวชมุชนชาติพันธ์ุในพื้นที่ เพื่อสร้างโอกาสในการกระจายรายได้มากขึ้น
- พื้นที่ต้นแบบด้านการท่องเท่ียวเชิงอนุรักษ์
- ส่งเสริมกลุ่มคนรุน่ใหม่ที่เป็น First visit มาเป็นพลังในการช่วยขับเคลื่อนการท่องเท่ียวมุมมองใหม่ๆผ่านกิจกรรม CSR