“จิรายุ” นำคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน สภาผู้แหนราษฎร ติดตามเรื่อง กฟภ. ในพื้นที่ชายแดนและชุมชนชาวเขา ภูมิลำเนาอยู่ในเขตป่าสงวน และส่งเสริม พัฒนา การท่องเที่ยว

ไม่มีหมวดหมู่
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน สภาผู้แหนราษฎร และคณะกรรมาธิการฯ ได้เดินทางมาประชุมและตรวจราชการ ที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก โดยมีนายสวนิต สุริยกุล ณ.อยุธยารองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมส่วนราชการและภาครัฐ เอกชน ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ และเข้าร่วมประชุม ณ.ห้องประชุม 100 ปีที่ว่าการอำเภออุ้มผาง

โดยได้มีการ นำเสนอแนวทางและแสดงความคิดเห็น ใน เรื่อง “พิจารณาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำภออุ้มผางของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
และติดตามความคืบหน้าการให้บริการของการไฟฟ้ส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ชายแดนและชุมชนชาวเขา
(ปกาเกอะญอ) ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ จังหวัดตาก” ทั้งนึ้เพื่อพิจารณาแนวทาง
การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์แพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID – 19. ในเขตพื้นที่ อ.อุ้มผาง รวมทั้งการติดตามผลความคืบหน้าของการขยายเขตไฟฟ้ในเขตพื้นที่ อ.แม่ระมาด และ อ.ทำสองยาง จ.ตาก

ประเด็นสำคัญ นอกเหนือจากเรื่อง การขยายเขตไฟฟ้าในเขตพื้นที่ ในเขตป่า ในพื้นที่จังหวัดตากแล้ว
ที่ประชุมได้มีการ พิจารณาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพัฒนาอย่างยั่งยืนพื้นที่ อ.อุ้มผางและติดตามความคืบหน้าการให้บริการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ชายแดนและชุมชนชาวเขา ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ
ในที่ประชุม มีตัวแทนพี่น้องเยาวชน บ้านแม่กลองน้อยและแม่กลองใหญ่ ต.โมรโกร อ.อุ้มผาง จ.ตาก
ขอการสนับสนุน ผลักดัน ไฟฟ้า ที่บ้านแม่กลองน้อยแม่กลองใหญ่ เพื่อใช้ ในการเรียนการสอน และแสงสว่างภายในหมู่บ้าน และยังมี ผู้นำท้องถิ่น ได้นำเสนอการก่อสร้างถนนสายอุ้มผางคลองลาน ผ่านคณะกรรมาธิการฯลฯไปยังรัฐบาล ต่อไป
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล
องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน และคณะ
ตนเองและคณะ กรรมาธิการฯลฯ นำเรื่องดังกล่าว เสนอรัฐบาล เพื่อแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนต่อไป
นายภูมิรวิชญ์ โชติธนวัฒน์ชัย ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์อุ้มผาง เปิดเผยว่า เนื่องจากเกิดการล๊อคคาว เมื่องอุ้มผาง จากสถานการณ์ การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส วิค- 19 เมื่อปี พ.ศ.2563-2564 ประมาณ 2 ปี ทำให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ประกอบกับ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2564 ทำให้ผู้ประกอบการนำเที่ยว 13 ราย ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเป็นอย่างมาก ยังไม่ได้ร่วมถึง ร้านค้าอาหาร บ้านเรือนของประชาชน ที่ถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง จนถึงปัจจุบัน บางราย ต้องหยุดกิจการ เพราะสูญเสียอาคารสถานที่มาก บางรายได้ฟื้นฟู สานที่ กิจการห้องพัก ได้เป็นบางส่วนเท่านั้น ดังนั้น ในนามชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์อุ้มผาง จึงมีความประสงค์ขอความอนุเคราะห์ จากคณะกรรมการฯพิจารณา ให้อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษ ได้ทั้งปี
โดยมุ่งเน้นสร้างความยั่งยืน ดูแลครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งการจัดการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การอนุรักษ์ทรัพยากร คุณภาพสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และเศรษฐกิจ อันจะช่วยให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ กระจายเม็ดเงินสู่ชุมชนต่างๆในอำเภออุ้มผาง

ในส่วนขงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

รายงานสรุปย่อการนำเสนอผลการดำเนินงานของ การท่องเท่ียวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) สำนักงานตาก ในหัวข้อการส่งเสริมการท่องเท่ียวในพื้นท่ีอำเภออุ้มผางในมิติด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเท่ียว โดย นางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ตำแหน่งผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก

  1. ข้อมูลท่ัวไปของอําเภออุ้มผาง
    อำเภออุ้มผางเป็นอำเภอหนึ่งทางตอนใต้ของจังหวัดตาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีป่าไม้หนาแน่น เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่กลอง เทือกเขาถนนธงชัย กั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับ สาธารณรัฐแห่สหภาพเมียนม่ามีพื้นท่ี เป็นภูเขาร้อยละ 97 มีพื้นที่ราบตามหบุเขาและลุ่มน้ำเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น เขตเทศบาลตำบลอุ้มผางพื้นที่ลาดเนินลงมาตามลำห้วยนา บ้านเรือนราษฎรปลูกกระจัดกระจายตามท่ีลาดเนิน ส่วนใหญ่บ้านเรือนจะ ปลูกเป็นแนวยาวตามลำห้วยนาส่วนหนึ่ง บริเวณเขตเทศบาลตำบลอุ้มผาง มีลำห้วย 3 สาย คือ
    ลำห้วยนา ลำห้วยไร่ ลำห้วอุ้มผาง มีทุ่งนาอยู่ประมาณ 200 ไร่ อำเภออุ้มผางสูงจากระดับน้ำทะเล
    ประมาณ 300-600 เมตร

การคมนาคม
อำเภออุ้มผางเป็นอำเภอหนึ่งทางตอนใต้ของจังหวัดตาก หนึ่งใน 9 อำเภอ อำเภออุ้มผางเป็น อำเภอท่ีมีพื้นท่ีกว้างที่สุดในประเทศไทยและมีพรมแดนติดต่อกับ ประเทศสหภาพเมียนมา ที่มีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร พื้นท่ีส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีป่าไม้หนาแน่น พื้นท่ีท่ีเป็นภูเขารเอยละ 97 มีพื้นท่ีราบตามหุบ เขาและลุ่มน้ำเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น การคมนาคมขนส่งต้องผ่านภูเขาและหุบเขา โค้ง 1,219 โค้ง (ห่างจากอำเภอแม่สอด 165 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากอำเภอแม่สอดโดยรถส่วนตัวประมาณ 3 ชั่วโมง รถโดยสารสองแถวประจำทาง 4-5 ชั่วโมง

จํานวนประชากร
จำนวนประชากรทั้งหมด 1,733 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 868 คน คิดเป็นร้อยละ 50.09 หญิง จำนวน 865 คนคดิเป็นร้อยละ 49.91 จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 595 ครัวเรือนความหนาแน่นเฉลี่ย 991.67 คน/ตารางก็โลเมตร ประกอบไปด้วยกล่มุ ชนท่ีหลากหลาย ชาติพันธุ์ ทั้ง ชาวไทยท่ีมาจากภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่มาทำธุรกิจท่องเที่ยว และค้าขาย ชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ทั้ง ม้ง ปกากะญอ กะเหรี่ยง เย้า มูเชอ ลีซอ อาข่า และจีนฮ่อ โดยมีวิถีชีวิตท่ีเรียบง่าย ใน ท่ามกลางความอุดมสมบรูณไ์ปด้วยแมกไม้นานาชนิด

  1. ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว

แหล่งท่องเท่ียวท่ีสำคัญ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (น้ำตกทีลอซู ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) ดอยหัวหมด น้ำตกทีลอเล น้ำตกทีลอจ่อ น้ำตกปิตุโกร หรือเปรโต๊ะลอซู เขตรักษาพนัธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเท่ียว มีห้องพัก 250 ห้องรองรับนักท่องเที่ยวได้ 1,000 คน มีร้านอาหาร 14 แห่ง รองรับคณะได้ 50 คนขึ้นไป การคมนาคมขนส่งในพื้นที่อุ้มผาง มีรถ รับจ้างท้องถิ่น รถตู้ การให้บริการอื่น ๆ ในพื้นท่ี มีบริษัทนำเท่ียว ที่ผ่านมาตรฐาน SHA Amazing Thailand Safety & Health Administration จานวน 22 ราย

  1. กิจกรรม/โครงการส่งเสริมการท่องเท่ียวอย่างรับผิดชอบ ของ ททท.สำนักงานตาก โครงการ
    ที่ผ่านมา Goodwill Chillout @ TAK
    • กิจกรรมเท่ียวตากพกยามาด้วยนะ โครงการตากเท่ียวได้ให้ด้วย
    • กิจกรรม Travel good Big green
    • กิจกรรมพิธีลงนาม“ปฏิญญาอมุ้ผาง”

โครงการ Goodwill Chill out @TAK
• ปีดำเนินการ 2563 กระตุ้นการเดินทางท่องเท่ียวในพื้นที่และสอดแทรกกิจกรรม“การท่องเท่ียว
อย่างรับผิดชอบ
(Responsible Tourism)” ในมิติของการสนับสนุนด้านสังคม เพื่อให้การท่องเที่ยว เป็นเครื่องมีในการช่วยสังคม เพื่อให้การทอ่งเท่ียวเป็นเครื่องงมือในการ แกป้ญญหาใหกับชมุชน
โครงการ ตากเที่ยวได้ ให้ด้วย

• ปีดำเนินการ 2564–ปัจจุบัน
กระตุ้นการเดินทางท่องเท่ียวในพื้นท่ีและสอดแทรกกิจกรรม “การท่องเท่ียวอย่างรับผิดชอบ
(Responsible Tourism)” ให้ครอบคลุมหลากหลายมิติมากขึ้น ทั้งด้าน สังคม วัฒนธรรม และ ส่ิงแวดล้อม ผ่าน “ปฏิญญาอุ้มผาง”
กิจกรรม Travel good Big green ผ่านกิจกรรมย่อยท่ีตอบโจทย์มิติอื่น ๆ
-กิจกรรมเพาะต้นกล้าคืนชีวิตให้ลำน้ำแม่กลอง ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ น้ำตกทีลอซู
-กิจกรรมส่งรักให้น้อง
-กิจกรรมยาเหลือใช้ต่อลมหายใจชีวิต”
-กิจกรรม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ” การท่องเท่ียวอย่างรับผิดชอบ “ปฏิญญาอุ้มผาง”

“ปฏิญญาอุ้มผาง” 5 ข้อ เพื่อรักษาสังคม ส่ิงแวดล้อม ให้คงอย่คู่กับกับเราอย่างยั่งยืน ต่อไป
• ภาคีเครือข่าย ขอปรับพฤติกรรม การผลิต บริโภค และการบริการทางการท่องเท่ียว ท่ีเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม และยึดหลัก “ปรัชญญาเศรษฐกิจพอเพียง”
•ภาคีเครือข่ายจะร่วมเพิ่มพื้นท่ีสีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างสมดุล ให้กับธรรมชาติ
•ภาคีเครือข่าย ใช้ทรัพยากรท่ีมีอยู่อย่างคุ้มค่า จัดการขยะตามหลัก 3 Rs มุ่งสู่สังคมปลอดภัย
• (Reduce-การลดการใช้Reuse-การนำกลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle การนำขยะกลับมาใช้ใหม่)
• ภาคีเครือข่ายจะร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อลดความเหลือมล้ำทางสังคม สนับสนุนเศรษฐกิจ
ชมุชน แรงงาน ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และสวัสดิการสาธารณสุข ให้กับชุมชนในพื้นที่อำเภออุ้มผาง
-ภาคีเครือข่ายจะร่วมลดการปล่อยมลพิษ และใช้น้ำอย่างมีคุณค่า ตลอดจน ร่วมอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว

  1. ผลกํารดําเนินกิจกรรม/โครงการ
  • ด้านสังคม
    • ประชากรมีรายได้จากการท่องเท่ียว ลดความเหลื่อมล้ำด้านสังคม ลดการเดินทางออกนอกภูมิลำเนา ช่วยให้ปัญหาครอบครัวลดลง
    •กิจกรรมอุ้มน้อง หรือพ่อแม่อุปถัมภ์ ช่วยให้นักเรียนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษามากขึ้น
  • ด้านวัฒนธรรม
  • ด้านสิ่งแวดล้อม
    -ปฏิญญาอุ้มผางก้าวแรกแห่งการร่วมมือกันพัฒนาการท่องเท่ียวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
    -โรงเพาะชำ ท่ีเป็นศูนย์รวมให้นักท่องเท่ียวได้ร่วมเพาะต้นกล้าไม้ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์
  1. โอกาส แนวทาง และทิศทางดำเนินการด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในอนาคต
  • ส่งเสริม ผลักดัน “ปฏิญญาอุ้มผาง”ในแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  • การท่องเท่ียวชมุชนชาติพันธ์ุในพื้นที่ เพื่อสร้างโอกาสในการกระจายรายได้มากขึ้น
  • พื้นที่ต้นแบบด้านการท่องเท่ียวเชิงอนุรักษ์
  • ส่งเสริมกลุ่มคนรุน่ใหม่ที่เป็น First visit มาเป็นพลังในการช่วยขับเคลื่อนการท่องเท่ียวมุมมองใหม่ๆผ่านกิจกรรม CSR
การเดินทาง ของคณะกรรม มาธิการฯลฯ
วัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาแนวทาง
การส่งเสริมการท่องเที่ย วอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์แพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19 ในเขตพื้นที่อำเภออุ้มผาง และติดตามผลความคืมหน้า
ของการขยายเขตไฟฟ้ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ระมาด และอำเภอทำสองยาง จังหวัดตาก
ตามที่คณะกรรมาธิการ
ได้เคยเดินทางไปประชุมและตรวจราชการในพื้นที่ดังกล่าว เมื่อระหว่างวันที่6 – 8สิงหาคม พ.ศ2563
โดยมีหน่วยงาน และหน่วยราชการ ที่เกี่ยวข้องมารับฟังปัญหาและ เสนอแนะ แนวทางการแก้ไข
เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขส่งต่อรัฐบาล
ต่อไป
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *