มทร.ล้านนา ตาก
ปั้นชุมชนชาติพันธุ์ ต.ด่านแม่ละเมา รองรับนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างความยั่งยืน สร้างรายใด้ให้กับชุมชน

ข่าวท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
ชูท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ตำบลด่านแม่ละเมา
สร้างอาชีพ สร้างรายใด้ ให้ชุมชน ต่อยอด แหล่งท่องเที่ยว เดิม ที่มีอยู่แล้ว
นำร่อง4หมู่บ้าน ชมวัฒนธรรม วิถีชีวิต และท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
บ้านปางส้าน (ชาวไทย) บ้านพะกา(ชาวปากากอญอ)บ้านธงช้ย(ชาวม้ง)และบ้านห้วยปลาหลด(ชาวมูเซอ)บ้านส้มปอย(ชาวมูเซอ)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดตาก ท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดตาก อพท. 4 (สุโขทัย) ขานรับ เตรียมต่อยอด ยกระดับ การท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ตำบลด่านแม่ระเมา
ดร.เจนจิรา ฝั้นเต็ม หัวหน้าโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย ของตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆภายใต้โครงการ “ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและศักยภาพชุมชนที่ยั่งยืน

ทั้งนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เล็งเห็นถึงปัญหาจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สร้างผลกระทบให้เกิดกับชุมชน สังคมและประเทศชาติ เป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหาปากท้อง การประกอบสัมมาอาชีพ ความเป็นอยู่ที่ลำบาก ตกงาน ขาดรายได้ ทำให้ต้องมองกลับมายังทุนทางสังคมที่มีอยู่ ไม่ต้องมีการลงทุนใหม่ที่จะทำให้เกิดการเป็นหนี้เพิ่มสูงขึ้นในครัวเรือน จึงได้สนับสนุนและสร้างโอกาสเพื่อให้บัณฑิตจบใหม่ (ไม่เกิน 3 ปี) ประชาชน และ นักศึกษา (ที่กำลังศึกษาอยู่) โดยการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ได้มองเห็นสิ่งที่มีอยู่ของชุมชนในท้องถิ่น คือ ทุนทางสังคมที่มีอยู่ เพียงแค่การพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน เป็นรูปธรรม ชุมชนที่เป็นชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ส่วนใหญ่มีการดำรงชีพตามวิถีชุมชน โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีการท่องเที่ยวชุมชนที่สามารถส่งเสริมและตอบสนองให้เกิดการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการการท่องเที่ยว อันเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการบนฐานของทุนทางวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น โดยจะนำกระบวนการและการมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม ร่วมกับจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต เพื่อสร้างคุณค่า ให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่ตอบสนองพฤติกรรมความต้องการนักท่องเที่ยว และสร้างทางเลือกของประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ จะเป็นการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์และเอกลักษณ์แห่งชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อน ถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตชุมชน อันได้แก่การท่องเที่ยวชุมชนที่เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น หรือ การนำวิถีชีวิตอันเป็นปกติมาแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ของตน ซึ่งการท่องเที่ยวจะเป็นตัวเชื่อมโยงที่จะกระจายรายได้ไปสู่คนในชุมชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เกิดการฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ​โดยใช้ทุนทางสังคมที่ตนมีก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ซึ่งโครงการนี้ได้เล็งเห็นศักยภาพพื้นที่ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประกอบไปด้วย 10 หมู่บ้าน คือ บ้านห้วยยะอุ บ้านปางส้าน บ้านห้วยพลู บ้านพะกา บ้านมูเซอส้มป่อย บ้านขุนห้วยช้างไล่ บ้านธงชัย บ้านห้วยปลาหลด บ้านใหม่โพธิ์ทอง และบ้านใหม่พัฒนา ซึ่งทั้ง 10 หมู่บ้านเป็นชุมชนชาติพันธุ์ม้ง กระเหรี่ยงและ มูเซอ ประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรมและค้าขาย โดยปลูกพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาล มีผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ ที่เป็นที่รู้จัก นอกจากนั้นชาวบ้านในชุมชนยังมีงานหัตถกรรมผ้าทอที่ผลิตไว้ใช้ยามว่างจากฤดูทำการเกษตร​ภายในพื้นที่บางแห่งด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พร้อม เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลด่านแม่ละเมาอยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ และป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในตำบลด่านแม่ละเมา จึงต้องใช้การท่องเที่ยวชุมชนด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการสร้าง องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนที่มีอยู่ มาเชื่อมโยงกับพื้นฐานเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างมูลค่าและต่อยอดสินค้าและบริการที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น โครงการ“การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและศักยภาพชุมชนที่ยั่งยืน”
​ดร.เจนจิรา ฝั้นเต็ม หัวหน้าโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย ของตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆภายใต้โครงการ “ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและศักยภาพชุมชนที่ยั่งยืน “ ซึ่งในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ได้จัดประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ตำบลด่านแม่ละเมาขึ้น โดยมีภาคีเครือข่าย ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ให้ความร่วมมือ ร่วมประเมินโครงการฯ อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดตาก ท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดตาก อพท. 4 (สุโขทัย) บริษัทนำเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงนักวิชาการ ด้านการศึกษา ได้เข้าร่วมการประเมินกิจกรรมในครั้งนี้
​ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก หวังว่าการดำเนินกิจกรรม หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัยจะพัฒนาชุมชน สังคม ให้เกิดการขับเคลื่อน สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนไทยเข้มแข็ง และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้นได้

นางสาวเกศราภรณ์ เครืออิ่ม หรือปลายฝน
กล่าวว่าตนเอง เป็น บัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เป็นคนในพื้นที่ตำบลด่านแม่ละเมา เนื่องจากทางกระทรวง อว.ได้มีการจัดทำโครงการU2Tหรือ โครงการ1ตำบล1มหาวิทยาลัย สร้างรากแก้วให้กับประเทศ ก็ได้ตัดสินใจลงสมัครด้วยจากช่วงสถานการณ์โควิด ที่เกิดขึ้นในช่วงจบใหม่จึงทำให้อยู่ในช่วงว่างงาน การที่ได้เข้ามาเป็น1ในโครงการนี้จึงได้รับประสบการณ์ โอกาสต่างๆ และได้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ในพื้นที่ของบ้านตัวเอง และได้เป็นส่วนที่จะช่วยให้บ้านเกิดได้มีการพัฒนาไปอย่างยังยืน แต่ยังคงกลิ่นอายของอัตลักษณ์วิถีชนเผ่า ขอบคุณโครงการดีๆที่ ทางกระทรวง อว.และ มทร.ล้านนาตาก เข้ามาช่วยพัฒนาชุมชนและช่วยให้เยาวชนได้มีงานทำ

นายสมจิต เจริญเพียงทอง
กล่าวว่า ตนเอง อยู่
หมู่บ้านธงชัย หมู่ที่7 ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก
เดิมทีมีอาชีพเป็นเกษตรกรทำไร่ทำสวน วันนี้ได้มาร่วมโครงการ ของ U2T หรือโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาตาก ส่งนักท่องเที่ยว เยี่ยมชม แหล่งท่องเที่ยวในตำบลด่านแใม่ละเมา สร้างรายได้ เป็นอาชีพเสริม ให้กับตนเองและครอบครัว

นางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ (ผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก) กล่าวว่า
วันนี้ได้มาร่วมกิจกรรมกับ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนาตาก เยือนวิถีชุมชนชาติพันธุ์ มี4แห่ง 4ชาติพันธุ์ บ้านปางสาน เป็นชุมชนชาวไทยภาคเหนือ ชุมชนบ้านพะกา ชุมชนปากอญอ นั่งรถอีแต๋ก ชมธรรมชาติ ผ่านทุ่งนา และบ้านธงชัย ชุมชนชาวม้ง ชมธรรมชาติ ตอนนี้เราก็มาถึง 360 องศาบนยอดเขาสวยงามมาก และมาชม บ้านห้วยปลาหลด ชุมชน มูเซอ
เป็นชุมชนที่น่ารัก สุดท้ายมาเยี่ยมชุมชน มูเซอบ้าน
อยากจะเซิญชวนเที่ยวสัมผัสชุมชนชาติพันธุ์ ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก
โครงการ มทร.ตาก ภายใต้โครงการ U2T หรือโครงการหนึ่งชุมชนหนึ่งตำบล ผนึกเครือข่ายพันธมิตรร่วมประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้พัฒนาและพร้อมรองรับการท่องเที่ยวต่อไป ประกอบด้วย คณาจารย์ มทร. ตาก ทกจ.จังหวัดตาก
ททท.ตาก ตำรวจท่องเที่ยวตาก อพท.พื้นที่ 4 ร่วมทดสอบเส้นทางและประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ด่านแม่ละเมา
มทร.ล้านนาตาก ได้ผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตรร่วมประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้พัฒนาและพร้อมรองรับการท่องเที่ยวต่อไป ประกอบด้วย คณาจารย์ มทร. ตาก ทกจ.จังหวัดตาก
ททท.ตาก ตำรวจท่องเที่ยวตาก อพท.พื้นที่ 4 และผู้ประกอบการท่องเที่ยว ร่วมทดสอบเส้นทางและประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ด่านแม่ละเมา ประกอบไปด้วย 4 ชาติพันธ์ุจาก 4 หมู่ ดังนี้ หมู่ 2 บ้านปางส้าน ชุมชนไทยเมือง ที่ยังคงวัฒนธรรมดั่งเดิมพร้อมน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเกษตร จนกลายเป็นแหล่งศึกษาดูงานตั้งแต่ โคกหนองนาโมเดล บันไดเก้าขั้น เกษตรแบบผสมผสาน
หมู่ 4 บ้านพะกา โดดเด่นด้วยวิถีเรียบง่ายของชาวปากะญอผ่านกิจกรรมนั่งรถอีแต๋นชมเส้นทางวิถีพร้อมชมธรรมชาติกว่า 3 กิโลเมตร ผ่านลำธาร บ้านเรือนแบดั่งเดิม นาข้าว และป่าชุมชนให้ได้ผ่อนคลาย หมู่ 7 บ้านธงชัย หมู่บ้านชาติพันธุ์ม้ง โดดเด่นด้วยวัฒนธรรมม้ง ทั้ง อาหาร การแต่งกาย และอาชีพเกษตรกรรมที่เพาะปลูกพืชพันธ์ุมูลค่าสูง เช่น ขิง อโวคาโด ลิ้นจี่ และโกโก้ นอกจากนี้ ยังมีรีสอร์ชุมชน แหล่งท่องเที่ยวโดยชมรมการท่องเที่ยวที่มีไฮไลท์เป็นจุดชมวิว 360 องศา บ้านพักแบบโฮมลอด และจุดกางเต๊นท์บนดอยที่มีวิวแบบเกือบ 360 และหมู่ 8 บ้านห้วยปลาหลดและบ้านส่มป่อย หมู่ 5 เป็นชาติพันธุ์มูเซอ ที่นำเสนอชุมชนที่อยู่กับป่าอย่างกลมกลืน และได้ช่วยพลิกผืนป่าต้นน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์จนกลายเป็นป่าต้นน้ำให้อีกหลายชุมชน มีผลิตภัณฑ์เด่น คือ ผักปลอดสาร เมล็ดกาแฟ และสตอเบอรี่ กิจกรรมการท่องเที่ยวประกอบด้วยชมและร่วมเล่นการแสดงการเต้นชนเผ่าจะคึ ชมแปลงผักขนาดใหญ่ ชมน้ำตก และกินอาหารถิ่น
ในมิติการท่องเที่ยวชุมชน โดยเฉพาะเชิงชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ตำบลด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก มีความโดดเด่นมาก และสามารถพัฒนาต่อยอดให้เป็นสินค้าท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังจังหวัดตาดต่อไป
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมใด้ที่
นางภัทชฎา คำแยง ตำแหน่ง รองปลัด อบต.ด่านแม่ละเมา รักษาราชการแทนปลัด อบต.ปฏิบัติหน้าที่นายก อบต.ด่านแม่ละเมา
0636636514
หรือ อบต.ด่านแม่ละเมา
055-508558
ดร.เจนจิรา ฝั้นเต็ม หัวหน้าโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย มทร.ล้านนาตาก
โทร.0818811829
ททท. สำนักงานตาก
FB: ททท. สำนักงานตาก
055514341-3
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *