อ.อุ้มผาง ชาวบ้านเบิ่งเคลิ่งบ่น!! พ่อค้าสั่งให้เก็บทุเรียนพื้นบ้าน ไม่มาตามนัด ต้องรีบแปรรูป ทำทุเรียนกวนก่อนจะเสีย

ข่าวเกษตร
เมื่อวันที่ 15มิย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่บ้านเปิ่งเคลิ่ง “ทุเรียนป่า พันธุ์พื้นเมือง ทุเรียน บ้านเปิ่งเคลิ่ง ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง เค้าขายกันบริเวณหน้าบ้าน เลือกซื้อได้เลย เป็นกอง กองละ พิกัด หมู่บ้านเปิ่งเคลิ้ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ชายแดนไทย-พม่า”
บ้านเบิ่งเคลิ่ง พื้นที่แนวชายแดนของอำเภออุ้มผางจังหวัดตาก เป็นหมู่บ้านสุดเขตประเทศไทย มีพื้นที่ติดกับประเทศเมียนมาร์
ประชาชนส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวปกากะญอ
ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกหมากทุเรียนและทำนา ปลูกข้าว
บ้านเปิ่งเคลิ่ง มีทุเรียนขึ้นชื่อทุเรียนพื้นบ้านที่ปลูกแบบธรรมชาติ มีอายุยืนยาวนานตั้งแต่เป็นหมู่บ้าน ตามคำบอกเล่า ของชาวบ้าน
บ้านเบิ่งเคลิ่ง พื้นที่แนวชายแดนของอำเภออุ้มผางจังหวัดตาก เป็นหมู่บ้านสุดเขตประเทศไทย มีพื้นที่ติดกับประเทศเมียนมาร์
ประชาชนส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวปกากะญอ
ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกหมากทุเรียนและทำนา ปลูกข้าว
บ้านเปิ่งเคลิ่ง มีทุเรียนขึ้นชื่อทุเรียนพื้นบ้านที่ปลูกแบบธรรมชาติ มีอายุยืนยาวนานตั้งแต่เป็นหมู่บ้าน ตามคำบอกเล่า ของชาวบ้าน
ช่วงนี้ทุเรียนพื้นบ้านขายดีมาก บางช่วง ประสบปัญหา ทุเรียน ก็เสียหาย สาเหตุเพราะ พ่อค้าสั่งซื้อแล้วไม่มารับทุเรียนตามนัด 3-4วัน ทำให้ทุเรียนแตกเสียหาย
เกษตรกร แปรรูปเป็นทุเรียนกวน

เจ๊พร อายุ40ปี อยู่บ้านเลขที่75/2 หมู่ที่9 บ้านเปิ่งเคลิ่ง ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า
ตนเอง รับสื่อและขาย ทุเรียนพื้นเมือง ปลูกขายเองบ้าง ขายเป็นกอง กอง4ลูก200 บาทมี กองละ 5ลูก200บาทก็มี ปัญหามีพ่อค้า สั่งซื้อทุเรียนแล้วไม่มารับ ทุเรียนก็เสีย
เพราะว่า ทุเรียนอยู่ใด้3-4วันก็แตก เสียหาย
วิธีแก้ไข นำทุเรียนมาแปรรูป โดยน้ำมากวน
บางครั้ง เสียหายเป็น1,000กิโล สั่งแล้วไม่มารับ ตนเองต้องนำทุเรียนมากวน
ทุเรีนทีรกวนแล้วขายกิโลละ500บาท สวน
เมล็ด ก็ยังขายใด้อีก กิโลละ35บาท ส่วนมากจะมีพ่อค้าสั่งจองไว้แล้ว
เจ๊พร กล่าวต่ออีกว่า
ทุเรียนพื้นบ้านเปิ่งเคลิ่ง จะออกช่วงเดือนมิถุนายนและออกมากที่สุดเดือนกรกฎาคม
สมัยก่อนขายยากและลำบากแต่มาสมัยนี้ถนนหนทางดี เดินทางจากอำเภออุ้มผางมาบ้านเปิ่นเคิ่งประมาณ 85 กิโลเมตร
ปัญหา ในขณะนี้เรื่องการติดต่อสื่อสารสัญญาณโทรศัพท์บางวันก็มีบางวันก็ไม่มี เป็นบางพื้นที่ ติดต่อสื่อสารกันยากมาก เจ๊พร กล่าว
ติดต่อเพิ่มเติมใด้ที่
เจ๊พร อยู่บ้านเลขที่75/2 หมู่ที่9 บ้านเปิ่งเคลิ่ง ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
โทร0942613233

นายรัตนกุล สังขศิลา
ปลัดอำเภออุ้มผางหัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร
ตนเอง ออกหน่วย สำนักทะเบียนที่ว่าการอำเภออุ้มผางเคลื่อนที่บริการพี่น้องประชาชนร่วมกับสำนักบริหารการทะเบียนภาค 6 พิษณุโลกสาขาจังหวัดตาก ทุเรียน พื้นบ้าน กลิ่นหอม รสหวาน
เห็นปัญหาของชาวบ้าน
ในเรื่องของ ทุเรียนพื้นบ้าน ที่มีพอค้า สั่งแล้วไม่มารับ ทำให้เกษตรกร ต้องนำทุเรียนมาแปรรูป กวน
ฝากถึงนักท่องเที่ยว มาเที่ยว อุ้มผาง เดินทางเลยไปประมาณ 85 กิโลเมตร เส้นทางเป็นถนนลาดยาง การเดินทางสะดวก กว่าเดิม ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาอุดหนุนทุเรียนบ้านเปิ่งเคลิ่ง

นายธัญปวัฒน์ ภูริวัฒนเมธา
นายอำเภออุ้มผาง กล่าวว่า
ทุเรียนบ้านเปิ่งเคลิ่ง
เป็นทุเรียนพื้นบ้าน ที่ปลูกกันมายาวนานหลายสิบปีแล้ว และมีทุเรียนพันธุ์ดี โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตาก สำนักงาน เกษตรอำเภออุ้มผาง ได้ต่อยอดส่งเสริมปลูกทุเรียนพันธุ์ดี เช่น ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
เชิญชวนเที่ยวงานทุเรียนบ้านเปิ่งเคลิ่ง
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน2565
ตั้งแต่ 08.00 น. เชิญเที่ยวงาน
“ทุเรียนเบิ่งเคลิ่งและของดีอุ้มผาง” ณ.โรงเรียนท่านผู้หญิงวิไลอมาตยกุล
บ้านเบิ่งเคลิ่ง
หมู่ที่ 9 ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก
ในงานพบกับเกษตรกร ร้านค้าร้านผลไม้
โดย เฉพาะทุเรียนมาจำหน่ายพืชผักผลไม้ และสินค้าที่ผลิตในอำเภออุ้มผาง มาบริการให้กับพี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยว
โดยการกิจกรรมครั้งนี้ เทศบาลตำบลแม่จันเป็นผู้จัดงานร่วมกับอำเภออุ้มผาง เกษตรอำเภออุ้มผาง

จากสภาพปัญหาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหา เรื่องทุเรียน โดยการแปรรูปทำทุเรียนกวน และ การแก้ไขปัญหาโดย ผู้นำท้องถิ่นร่วมกันจัดงานกิจกรรม ทุเรียนบ้านเปิ่งเคลิ่งและของดีอำเภออุ้มผาง เพื่อเพิ่มพื้นที่ การขายสินค้า พื้นบ้าน สินค้าการเกษตรพื้นบ้านโดยเฉพาะทุเรียน เพื่อโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวและสินค้าการเกษตรของชุมชนโดยเฉพาะทุเรียนพื้นบ้าน ที่อยู่คู่กับหมู่บ้านเปิงเคริ่งมาอย่างยาวนาน
และหมากที่ขึ้นชื่อและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *