ดร.สุวิชชาภรณ์ ชนิลกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยะพอกล่าวว่า กิจกรรมการดำนาปลูกข้าวที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นนั้น ต้องการให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของข้าว แสดงให้เห็นว่า ข้าว เป็นสิ่งที่คู่กันกับวิถีของคนไทย มาอย่างช้านาน
.
แปลงนาสาธิตเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้ร่วมกับคุณครู ทำเป็นศูนย์สาธิตขึ้น ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนของเด็กวัยเรียน และยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีพื้นบ้านให้กับนักท่องเที่ยวและพี่น้องประชาชนได้เข้าชม
สิ่งสำคัญศูนย์แห่งนี้เป็นการร่วมมือและร่วมใจจากชาวบ้านในหมู่บ้านคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูนักเรียน หน่วยงานของรัฐในพื้นที่บูรณาการร่วมกัน เพื่อต่อยอดเป็นองค์ความรู้และซึมซับวิถีวัฒนธรรมที่เราควรรักษา…ไม่ลืมรากเหง้าของเรา และสืบสานความเป็นไทยให้คงอยู่ เพราะนี่คืออัตลักษณ์ ช่วยปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชน เห็นคุณค่าในการสืบสานภูมิปัญญาของชุมชนอีกทางหนึ่ง
โรงเรียนบ้านยะพอ ตั้งอยู่หมู่ 5 ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระจังหวัดตาก เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 22 คนมีนักเรียนจำนวน 466 คนเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ครูอาทิตย์ ใจดี ครูผู้สอนรายวิชาการเกษตร
กล่าวว่า
การเตรียมแปลงนา
ได้รับความอนุเคราะห์จาก
คณะกรรมการโรงเรียน นักเรียน และชาวบ้าน ร่วมกันเตรียมแปลง กล้าข้าว ใด้การสนับสนุนจาก ชาวบ้านยะพอ ส่วนในการปลูกวันนี้ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลวาเล่ย์ เจ้าหน้าที่อสอำเภอพบพระ คณะกรรมการการศึกษา และชาวบ้านมาร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยมีนักเรียน.ร่วมกันปลูกข้าว ดำนา
ซึ่งช่วงเช้าเป็นการ ในช่วง ที่ก่อนจะมีพิธีดำนา มีการเรียนการสอนเบื้องต้นในเรื่องการทำนาและวิถีชีวิตตามความเชื่อของชาวบ้านวัฒนธรรมดั้งเดิมเรื่องการทำนาปลูกข้าวเพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับนักเรียน
โรงเรียนบ้านยะพอ ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เป็นโรงเรียนชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
ฝั่งตรงข้ามของโรงเรียนที่มีแม่น้ำเมยกั้นเป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงประเทศเมียนมาร์
เลอคอทีวา
อำเภอวาเล่ยใหม่ จังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมาร์
โดยมีลำน้ำเมย กั้นพรหมแดน เด็กนักเรียน
โรงเรียนบ้านยะพอ ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องชาวปากาเกอญอ หรือชาวกระเหรี่ยง
ศูนย์ เศรษฐกิจพอเพียง แห่งนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ชายครอบ หรือเด็กๆชายแดน อ.พบพระ
เด็กนักเรียนชายแดนในพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
เป็นพื้นที่การเรียนรู้ศึกษาวัฒนธรรมการทำนาปลูกข้าว และยังเป็นสวนเศรษฐกิจพอเพียง มีสวนมะนาว ข่าตะไคร้ สวนผักสวนครัวเลี้ยงปลา ปลูกผักสลัด ปลูกผักสวนครัว ตะไคร้ชะอม
การทำนาปลูกข้าวในวันนี้ ทั้งบ่งบอกถึง ความรักความสามัคคีความร่วมไม้ร่วมมือโรงเรียน และชุมชน ส่วนราชการในพื้นที่ ได้เป็นอย่างดี
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน