ร้อยโท วชิรพรรณ พานทวีป หัวหน้าชุดปฏิบัติการประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน
โครงการศิลปาชีพในพื้นที่โครงการจัดที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ
จังหวัดตาก
กล่าวรายงานความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2536 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ณ โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 2 ทรงมีพระราชดำริที่จะส่งเสริมงานศิลปาชีพ เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีรายได้ โดยให้จัดตั้งกลุ่ม
ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และกลุ่มทอผ้าขึ้น พระองค์ทรงได้พระราชทานเงินให้ก่อสร้างอาคาร
โรงทอผ้าที่บ้านรวมไทยพัฒนาที่ 7 อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2538 สมเด็จพระบรมราชินีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ณ พลับพลาที่ประทับศาลาทรงงาน ในพื้นที่สถานีทดลองพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร บ้านห้วยน้ำเย็น ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
พระองค์ทรงทราบถึงปัญหาที่จะต้องแก้ไขและดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง พระองค์จึงทรงรับโครงการจัดที่อยู่อาศัย และพื้นที่ทำกินคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ ไว้เป็น “โครงการตามพระราชดำริ” นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จึงก่อให้เกิด “โครงการศิลปาชีพในพื้นที่อำเภอ
พบพระ”
เพจ 9 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
- เพื่อสนับสนุนนโยบายประสานแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และความมั่นคงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- เพื่อสนับสนุนนโยบายรักษาความมั่นคงภายใน เขตพื้นที่ชายแดนไทย เมียนมาร์ และสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาตามแนวชายแดน ของกองทัพบก
- เพื่อรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ด้วยการอพยพชาวเขาให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมสามารถประกอบอาชีพได้ตลอดจนเป็นกำลังเสริมแนวป้องกันชายแดน ด้านตะวันตกร่วมกับคนไทยที่จะจัดให้อยู่ในพื้นที่ด้วย
- เพื่อประสานประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐที่จะร่วมมือกันพัฒนา ส่งเสริมให้ราษฎรมีความอยู่ดีกินดี เสริมความมั่นคงทางการเมือง การทหาร สังคมวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ ให้เกิดผลตามแนวชายแดนอย่างเป็นรูปธรรม
เพจ 10 การเสด็จพระราชดำเนิน
สมเด็จพระบรมราชินีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมราษฎรในพื้นที่โครงการฯ รวม 8 ครั้ง
ที่ตั้งสำนักงานโครงการศิลปาชีพในพื้นที่โครงการจัดที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ ตั้งอยู่ ณ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 760 เมตร
ข้อมูลสมาชิกศิลปาชีพในโครงการ เป็นชาวไทยภูเขาชนเผ่าม้ง และชาวไทยพื้นเมือง จำนวน 1,075 คน ประกอบไปด้วย
– กลุ่มทอผ้าชาวเขา สมาชิก 1,012 คน
– กลุ่มทอผ้าฝ้าย สมาชิก 43 คน
– กลุ่มเลี้ยงไหม สมาชิก 20 คน