ผู้สื่อข่าวรายงานจาก พื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566
นายนิกร จันตา
นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพบพระ มอบหมายให้ นายชาตรี แสนคำลือ นักวิชาการสาธารสุข ชำนาญการ
พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองสาสุข โดยมี คณะผู้บริหาร เทศบาลตำบลพบพระพร้อมด้วยสมาชิกสภาเทศบาลตำบลพบพระ ร่วมพ่นหมอกควัน ป้องกันยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออกและมาลาเรีย
โดยร่วมกับ เจ้าหน้าที่ ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่2.3.2 พบพระ ใช้รถใช้เครื่องขนาดใหญ่การพ่นฝอยละออง
และใช้เครื่อง พ่นหมอกควัน ทำการพ่นครอบคลุมทุกชุมชน ทั้งนี้เทศบาลตำบลพบพระ ใช้รถประชาสัมพันธ์ ให้กับพี่น้อง ในการ รณรงค์ครั้งนี้
โรคไข้เลือดออก
เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ พบมากในเด็กวัยเรียน
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส มี 4 ชนิด ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อชนิดใดแล้วจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนั้นไปตลอดชีวิต และจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกี อีก 3 ชนิดในช่วงสั้นๆ ไม่ถาวร ประมาณ 6-12 เดือน หลังจากระยะนี้แล้ว คนที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดหนึ่งอาจติดเชื้อไวรัสเดงกี ชนิดอื่นที่ต่างไปจากครั้งแรกได้ เป็นการติดเชื้อซ้ำ
การติดต่อ
โรคไข้เลือดออกติดต่อถึงกันได้โดยมียุงลาย เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ โดยยุงตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยในระยะไข้สูง และฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน จากนั้นเมื่อยุงตัวนี้ไปกัดคนปกติ ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และผ่านระยะฟักตัวประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน – นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ สำหรับเชื้อเดงกีนี้จะอยู่ในตัวยุงนั้นตลอดชีวิตของยุง คือ ประมาณ 45 วัน
อาการ
หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ ดังนี้
1.ไข้สูงเฉียบพลัน (38.5 – 40 องศาเซลเซียส) ประมาณ 2-7 วัน หน้าแดง ปวดกระบอกตา เบื่ออาหาร อาเจียน ส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูกไม่ไอ
- มีอาการเลือดออก เส้นเลือดเปราะ แตกง่าย มีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ มีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาจมีอาเจียนและอุจจาระสีดำ
- มีปวดท้อง ส่วนใหญ่จะคลำพบตับโตได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย
- มีภาวะช็อก ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากมีการรั่วของเลือด ออกไปยังช่องปอดและช่องท้อง ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิต แคบ ส่วนใหญ่ จะรู้สติ พูดรู้เรื่อง กระหายน้ำ อาจมีอาการปวดท้องกะทันหันก่อนเข้าสู่ภาวะช็อก ถ้ารักษาไม่ทัน จะมีอาการ ปากเขียว ผิวสีม่วง ๆ ตัวเย็นชืด จับชีพจรและวัดความดันไม่ได้ ความรู้สติเปลี่ยนไป และจะเสียชีวิตภายใน 12 – 24 ชั่วโมง ในรายที่ไม่รุนแรง เมื่อให้การรักษาในช่วงระยะสั้นๆ ก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว