ทั้งนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เล็งเห็นถึงปัญหาจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สร้างผลกระทบให้เกิดกับชุมชน สังคมและประเทศชาติ เป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหาปากท้อง การประกอบสัมมาอาชีพ ความเป็นอยู่ที่ลำบาก ตกงาน ขาดรายได้ ทำให้ต้องมองกลับมายังทุนทางสังคมที่มีอยู่ ไม่ต้องมีการลงทุนใหม่ที่จะทำให้เกิดการเป็นหนี้เพิ่มสูงขึ้นในครัวเรือน จึงได้สนับสนุนและสร้างโอกาสเพื่อให้บัณฑิตจบใหม่ (ไม่เกิน 3 ปี) ประชาชน และ นักศึกษา (ที่กำลังศึกษาอยู่) โดยการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ได้มองเห็นสิ่งที่มีอยู่ของชุมชนในท้องถิ่น คือ ทุนทางสังคมที่มีอยู่ เพียงแค่การพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน เป็นรูปธรรม ชุมชนที่เป็นชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ส่วนใหญ่มีการดำรงชีพตามวิถีชุมชน โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีการท่องเที่ยวชุมชนที่สามารถส่งเสริมและตอบสนองให้เกิดการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการการท่องเที่ยว อันเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการบนฐานของทุนทางวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น โดยจะนำกระบวนการและการมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม ร่วมกับจุดแข็งในด้านความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต เพื่อสร้างคุณค่า ให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวที่ตอบสนองพฤติกรรมความต้องการนักท่องเที่ยว และสร้างทางเลือกของประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ จะเป็นการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวโดยใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์และเอกลักษณ์แห่งชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อน ถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตชุมชน อันได้แก่การท่องเที่ยวชุมชนที่เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น หรือ การนำวิถีชีวิตอันเป็นปกติมาแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ของตน ซึ่งการท่องเที่ยวจะเป็นตัวเชื่อมโยงที่จะกระจายรายได้ไปสู่คนในชุมชนและท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เกิดการฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทุนทางสังคมที่ตนมีก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ซึ่งโครงการนี้ได้เล็งเห็นศักยภาพพื้นที่ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประกอบไปด้วย 10 หมู่บ้าน คือ บ้านห้วยยะอุ บ้านปางส้าน บ้านห้วยพลู บ้านพะกา บ้านมูเซอส้มป่อย บ้านขุนห้วยช้างไล่ บ้านธงชัย บ้านห้วยปลาหลด บ้านใหม่โพธิ์ทอง และบ้านใหม่พัฒนา ซึ่งทั้ง 10 หมู่บ้านเป็นชุมชนชาติพันธุ์ม้ง กระเหรี่ยงและ มูเซอ ประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรมและค้าขาย โดยปลูกพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาล มีผลิตภัณฑ์กาแฟดอยมูเซอ ที่เป็นที่รู้จัก นอกจากนั้นชาวบ้านในชุมชนยังมีงานหัตถกรรมผ้าทอที่ผลิตไว้ใช้ยามว่างจากฤดูทำการเกษตรภายในพื้นที่บางแห่งด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พร้อม เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลด่านแม่ละเมาอยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ และป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในตำบลด่านแม่ละเมา จึงต้องใช้การท่องเที่ยวชุมชนด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการสร้าง องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนที่มีอยู่ มาเชื่อมโยงกับพื้นฐานเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างมูลค่าและต่อยอดสินค้าและบริการที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น โครงการ“การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและศักยภาพชุมชนที่ยั่งยืน”
ดร.เจนจิรา ฝั้นเต็ม หัวหน้าโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย ของตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆภายใต้โครงการ “ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและศักยภาพชุมชนที่ยั่งยืน “ ซึ่งในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ได้จัดประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนชาติพันธุ์ตำบลด่านแม่ละเมาขึ้น โดยมีภาคีเครือข่าย ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ให้ความร่วมมือ ร่วมประเมินโครงการฯ อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดตาก ท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดตาก อพท. 4 (สุโขทัย) บริษัทนำเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงนักวิชาการ ด้านการศึกษา ได้เข้าร่วมการประเมินกิจกรรมในครั้งนี้
ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก หวังว่าการดำเนินกิจกรรม หนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัยจะพัฒนาชุมชน สังคม ให้เกิดการขับเคลื่อน สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนไทยเข้มแข็ง และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้นได้
นางสาวเกศราภรณ์ เครืออิ่ม หรือปลายฝน
กล่าวว่าตนเอง เป็น บัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เป็นคนในพื้นที่ตำบลด่านแม่ละเมา เนื่องจากทางกระทรวง อว.ได้มีการจัดทำโครงการU2Tหรือ โครงการ1ตำบล1มหาวิทยาลัย สร้างรากแก้วให้กับประเทศ ก็ได้ตัดสินใจลงสมัครด้วยจากช่วงสถานการณ์โควิด ที่เกิดขึ้นในช่วงจบใหม่จึงทำให้อยู่ในช่วงว่างงาน การที่ได้เข้ามาเป็น1ในโครงการนี้จึงได้รับประสบการณ์ โอกาสต่างๆ และได้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ในพื้นที่ของบ้านตัวเอง และได้เป็นส่วนที่จะช่วยให้บ้านเกิดได้มีการพัฒนาไปอย่างยังยืน แต่ยังคงกลิ่นอายของอัตลักษณ์วิถีชนเผ่า ขอบคุณโครงการดีๆที่ ทางกระทรวง อว.และ มทร.ล้านนาตาก เข้ามาช่วยพัฒนาชุมชนและช่วยให้เยาวชนได้มีงานทำ
นายสมจิต เจริญเพียงทอง
กล่าวว่า ตนเอง อยู่
หมู่บ้านธงชัย หมู่ที่7 ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก
เดิมทีมีอาชีพเป็นเกษตรกรทำไร่ทำสวน วันนี้ได้มาร่วมโครงการ ของ U2T หรือโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนาตาก ส่งนักท่องเที่ยว เยี่ยมชม แหล่งท่องเที่ยวในตำบลด่านแใม่ละเมา สร้างรายได้ เป็นอาชีพเสริม ให้กับตนเองและครอบครัว