อ.พบพระ จัดกิจกรรม“วันทหารผ่านศึก ” ทำบุญตักบาตร วางพวงมาลา เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า ศาลสมเด็จพระนเรศวร บ้านทหารผ่านศึก

ข่าวท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565
นายสมพงษ์ ฟุ้งทวีวงษ์
นายอำเภอพบพระ
เป็นประธานงาน ” 3 กุมภาพันธ์ “
“วันทหารผ่านศึก “
ณ. บ้านทหารผ่านศึกหมู่ที่ 4 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
มีกิจกรรมทำบุญตักบาตร
วางพวงมาลา
เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า ณ.ศาล สมเด็จพระนเรศวร หมู่บ้านทหารผ่านศึก
บ้านทหารผ่านศึก หมู่ที่ 4 ตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระจังหวัดตาก
เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้าน ที่จัดกิจกรรม วันทหารผ่านศึก รำลึกวีระชนผู้กล้า สืบเนื่องมาจากพระราชดำริ กว่า 132ครัวเรือน ประชากร381ราย
เป็นหญิง173คน
เป็นชาย208คน
เดิมที เป็นราษฎร ที่มาจากอดีตทหารผ่านศึก นอกประจำการ ตาม (โครงการ พพพ.)โครงการจัดสรรพื้นที่ทำกินพบพระ โดย.กองทัพภาคที่ 3 จัดสรรพื้นที่ทำกิน ให้กับ ครอบครัวทหารผ่านศึก จำนวน 20 ไร่ บ้าน 1 หลัง พร้อมที่อยู่อาศัย 2 งาน
โดย.มีพ.อ.ณรงค์ชัย เจริญชัย (ผบ.ฉก.ร.14) พ.ท.สุริยา ผาสุข
ผบ.บก.ควบคุม ฉก.ร.14
พ.ต.ท.วิษณุ นิพิฐปัญญา รอง ผกก.ป.สภ.พบพระ
หัวหน้าส่วนราชการทหารตำรวจ ตชด. ป่าไม้ ครู ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น สมาชิก ทหารผ่านศึก พร้อมครอบครัวทหารผ่านศึก
และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมวันทหารผ่านศึกช่วงเช้ามีกิจกรรมทำบุญตักบาตร
วางพวงมาลา
เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า
กิจกรรมวันทหารผ่านศึก
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี ได้มีการจัดงานเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารผู้เสียสละแม้กระทั่งชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยและอธิปไตยของชาติ ดอกป๊อปปี้ สีแดง นั้น เป็นสัญลักษณ์แทน ทหารผ่านศึก ผู้พิทักษ์รักษาประเทศชาติให้มีเอกราชอธิปไตย สีแดงของดอกป๊อปปี้ คือ เลือดของทหารหาญที่ได้หลั่งชโลมแผ่นดินไว้ด้วยความกล้าหาญ เสียสละอันสูงสุด ดังนั้นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่เราทั้งหลายจะได้เห็นดอกป๊อปปี้บานสะพรั่ง
มีกิจกรรมทำบุญตักบาตร
วางพวงมาลา
เพื่อเป็นการแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเหล่านักรบผู้กล้า
ประวัติความเป็นมาของ วันทหารผ่านศึก
กระทรวงกลาโหมได้เสนอพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 จึงได้ยึดเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันทหารผ่านศึก” โดยมี พลโท ชมะบูรณ์ ไพรีระย่อเดช เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึกได้ปรับเปลี่ยนฐานะมาเป็นองค์กรเพื่อการกุศลของรัฐ และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมและเงินที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นครั้งคราว
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *