ตาก ผืนเดียวในโลก ผ้ากะเหรี่ยงทอมือ จากผืนป่าชายแดนอุ้มผาง

ข่าวท้องถิ่น

ร.ท.จิรพัส หน่องาม หัวหน้าชุดปฎิบัติการประสานงานและคุ้มครองป้องกันชุมชน โครงการจัดตั้งหมู่บ้านยามชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านมะโอโคะ

เปิดเผยว่า บ้านมะโอโค๊ะ หมู่ 12 ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง ซึ่งเป็นหมู่บ้านชายแดนติดกับประเทศเมียนมา เป็นหมู่บ้านที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานความมั่นคงเมื่อปี 2542 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชดำริกับพลตรีชัยยุทธ เทพยาสรรณ ผู้ยัญชาการกองพลพัฒนาที่ 3 /ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่จังหวัดตาก – แม่ฮ่องสอน โดยสรุปประเด็นสำคัญของพระราชดำริมีดังนี้ “ให้หาราษฎรชาวไทยภูเขาที่สมัครใจเป็นยามตามแนวชายแดน ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการอยู่ร่วมกันของคนกับป่า” โดยในการเริ่มสร้างหมู่บ้านมะโอโค๊ะ มีราษฎรชาวไทยภูเขาสมัครใจมาอยู่ จำนวน 30 ครอบครัว โดยทางการได้จัดสรรที่ดินทำกินให้คนบะ 10-15 ไร่ ตามสภาพพื้นที่ ปัจจุบันหมู่บ้านมะโอโค๊ะ มีราษฎรอาศัยอยู่ 250 คน มีหน่วยงานโครงการพัฒนาราษฎรชาสไทยภูเขา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดตาก ในความรับของสำนักยริหารพื้นที่อนุรักที่ 14 (ตาก)
นาง มาลัย นทีฤทธิรงค์ ประธานกลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านมะโอโค๊ะ เล่าว่า ตั้งแต่มีการจัดตั้งหมู่บ้านในปี 2543 มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาส่งเสริมในด้านงานอาชีพให้กับราษฎร ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้นำชุมชน สมาชิกแม่บ้าน เล็งเห็นว่าเรื่องการทอผ้าเป็นวิถีชีวิตที่แม่บ้านชาวกระเหรี่ยง จะใช้เวลาว่างจากการทำงาน และรายได้ต่อครอบครัวมีรายได้น้อย

จึงหาวิธีผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ด้วยตนเองจากวัสดุธรรมชาติ พัฒนาคุณภาพ มีลวดลายที่สวยงามมากขึ้น มีความคงทน สร้างความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอกระเหรี่ยง บ.มะโอโคะ และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังต่อมาจนถึงปัจจุบัน จึงมีการมีการตั้งกลุ่มสมาชิกและถ่ายทอดให้กับสำหรับผู้สนใจ ฝึกปฏิบัติจนมีความชำนาญและเพิ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย จนสามารถจำหน่ายได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเล็งเห็นความสำคัญ จัดอบรม เพิ่มความรู้ให้ผสมผสานกับยุคสมัยใหม่ และเมื่อประมาณปี 2543 องค์การบริหารส่วนตำบลแม่จัน (หรือเทศบาลตำบลแม่จัน -ในปัจจุบัน) ได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างโรงทอผ้าให้กับชุมชน ให้สมาชิกมีที่ทอผ้าและจัดเก็บผ้าดีขึ้น และเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2545 ได้จัดสมาชิกกลุ่มทอผ้าฯ บ้านมะโอโคะ เข้าเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ บ้านเมืองแพม จังหวัดแม่ฮ่องสอน พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดให้รับราษฎร บ้านมะโอโคะ เข้าเป็นสมาชิกในโครงการศิลปาชีพ ของพระองค์ท่าน จำนวน ๒๒ คน และได้ทำการส่งผ้าทอให้กับศูนย์ศิลปาชิพสวนจิตรลดาและนำจำหน่ายด้วยตนเอง เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้กับสมาชิกอีกทางหนึ่งได้ จนถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ ในช่วง สถานการณ์โควิด 19 ห้วง 3 ปีที่ผ่านมา ยอดขายลดลงไปตามสภาพ ทั้งคนซื้อและ ชาวบ้านสมาชิกลุ่ม ที่ ต้องกักตัวอยู่แต่บ้านเรือนของตนเอง ปัจจุบัน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว สามารถรวมกลุ่มทอผ้าได้อย่างเต็มที่ และยอดสั่งจอง ออเดอร์เริ่มกลับเข้ามาแล้ว โดยเฉลี่ย ราคาขาย ไม่แพง เช่นเสื้อผ้าทอกะเหรี่ยง ,ย่ามผ้าทอมือ ลายโบราณ หรือลายประยุกต์สมัยใหม่ เริ่มต้น ที่ 400-500 บาท เมื่อเทียบกับความใส่ใจ ในการทอผ้าด้วยมือแท้ๆ เริ่มตั้งแต่การ การต้มเปลือกไม้ประดู่ ใส่เกลือ ใส่ขี้เถ้า ต้มนาน 1 ช.ม. แล้วเอา เส้นฝ้ายไปชุบ นำไปผึ่งร่ม 2-4 วัน แล้วนำมาปั่นขึ้นเชือก ก่อนจะนำมาทอผ้าด้วยมือ ที่ละเส้น ทีละแถว จนได้เป้ฯผืน หรือแบบที่ต้องการ และนำมาเย็บ ขึ้นรูป ด้วยมือ จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ เรียกว่าได้ว่า ผ้าทอกะเหรี่ยงแต่ละผืน มีเดียวในโลก เพราะแต่ละชิ้นแต่ละผืนจะไม่ซ้ำ ต่างกัน นิดๆหน่อยๆ ไม่เหมือนผ้าทอที่ผลิตจากเครื่องจักรกลแบบโรงงาน
นับใด้ว่า ผ้าทอพื้นบ้านชาวกะเหรี่ยง บ้านมะโอโค๊ะ แต่ละชิ้นงาน เพียงแต่จะคล้ายๆกัน
เป็น เป็นเอกลักษณ์
แต่ละชิ้นงาน หรือผลิตภัณฑ์ แต่ละชิ้นงาน ขนาดจะแตกต่างกันบ้าง ด้วยสาเหตุทำด้วยมือ หรือ Handmade แฮนเมด
ไม่เหมือนกับ ผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากโรงงาน ทำด้วย เครื่องจักร ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีแบบใหม่

แม้แต่ สี ที่ใช้ย้อมเส้นด้าย
ต้มจากเปลือกไม้ ต้มเปลือกไม้ประดู่ ย้อมเส้นด้ายบางครั้ง
สีเข้มบ้าง อ่อนบ้าง
เป็นธรรมชาติ
เส้นด้ายแต่ละเส้น
ชิ้นงาน แต่ละชินงานแต่ละผืนงานแต่ละชิ้นสีจะไม่คงที่ สวยแบบธรรมชาติ ย้อมเส้นด้าย ด้วยน้ำต้มจากเปลือกไม้ประดู่ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง
สมกับ ชิ้นงานหนึ่งเดียวในโลก

สนใจอุดหนุนผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงทอมือ แท้ๆ จากผืนป่าชายแดน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ติดต่อได้ที่ โทร 093-2693750 ID ไลน์ เบอร์โทร 093-2693750 หรือ ที่เฟสบุ๊ก มาลัย นทีฤทธิรงค์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *