ของนายวีระชัย ก้องพนาไพรสณฑ์ กำนันตำบลรวมไทยพัฒนา ในบริเวณใกล้กัน ยังมีการปลูกผักกาดเขียวม้ง หรือผักกาดม้ง ที่กำลังออกผลผลิต รุ่นละประมาณ 1 ไร่ มีอยู่ 2-3 รุ่น และกำลังเตรียมแปลงพื้นที่ เพื่อเตรียมหยอดเมล็ดพันธุ์
กล่าวว่า ตนเองมีแนวคิด จะอนุรักษ์ สายพันธุ์ผักกาด เขียว หรือผักกาดม้ง ของอำเภอพบพระซึ่งเป็นผักพื้นบ้านของชาวม้ง อำเภอพบพระ ให้คงอยู่ กับวิถีชีวิต และในอนาคตข้างหน้า เป็นผักพื้นบ้านที่ จะเป็นผักเศรษฐกิจของชุมชนต่อไป
ผักกาดเขียวม้งหรือผักกาดม้ง
ใช้ทำกับข้าว ในพิธีต่างต่าง ในการทำกับ ทำอาหารเลี้ยงแขกและครอบครัว เรียกว่าต้มพันปี ต้มใส่หมู เช่น เทศกาลกินข้าวใหม่ม้ง เทศกาลปีใหม่ม้ง ที่ชาวบ้านจะเรียกกันติดปากว่า อาหาร”ต้มพันปี”
แนวคิดในการอนุรักษ์และไอเดียในปลูกผักกาด เขียวม้ง ผักกาดม้ง ไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ และเป็นผัก และพืชเศรษฐกิจสร้างรายใด้ต่อไป เนื่องจาก ปลูกงาน ต้นทุนต่ำ ดูแลง่าย ใช้ปุ๋ยคอก ไม่ต้องใช้สารเคมี
แนวคิดในการอนุรักษ์และไอเดียในปลูกผักกาด เขียวม้ง ผักกาดม้ง ไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ และเป็นผัก และพืชเศรษฐกิจสร้างรายใด้ต่อไป เนื่องจาก ปลูกงาน ต้นทุนต่ำ ดูแลง่าย ใช้ปุ๋ยคอก ไม่ต้องใช้สารเคมี
ผักกาดเขียวม้ง ปลูกงาน ไม่ต้องใช้สารเคมี อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ40-45วันเก็บตัดขายใด้แล้ว ตอนนี้ตัดขายในราคากิโลละ10บาท ถ้าช่วงแพงๆขายใด้กิโลละ20-30บาท
มีพ่อค้าตลาดนัด พ่อค้าในหมู่บ้านในอำเภอพบพระมารับซื้อ ผักกาดเขียวม้ง ปลูกใด้ทั้งปี ปลูกใด้ทุกเดือน ถ้าหากว่าพื้นที่ ที่มีน้ำ
ผักกาดเขียวม้ง ที่ตนเองปลูก ให้ผลผลิตประมาณไร่ละ 1,000 -1,500 กิโล ปลุกทุกเดือน ตลอดปี
ผักกาดเขียวม้ง อายุการเก็บเกี่ยว เพื่อตัดขายใช้เวลาปลูกประมาณ40-45วัน สามารถตัดขาย หรือไว้บริโภคใด้เลย
ในส่วนของการทำพันธ์ุหรือทำเมล็ดพันธุ์ ต้องใช้เวลา ประมาณในการปลูก จนเก็บเมล็ดพันธุ์ ใช้เวลาประมาณ 90วันหรือ 3 เดือน ขึ้นไป
ช่วงเวลาในการปลูกเพื่อทำเมล็ดพันธุ์
ช่วงเดือนี่เหมาะสม เดือน พฤศจิกายน, ธันวาคม, มกราคม ช่วง 3 เดือนนี้เหมาะสมที่สุด
กำนันวีระชัย ก้องพนาไพรสนฑ์ กล่าว
ชวลิต วิกุลชัยกิจ /รายงาน